วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ศักยภาพการส่งออกแป้งมันสำปะหลังในตลาดญี่ปุ่น

             ศักยภาพการส่งออกแป้งมันสำปะหลังในตลาดญี่ปุ่น ญี่ปุ่นมีความต้องการใช้แป้งประมาณปีละ 3.0 3.2 ล้านตัน  โดยสามารถผลิตแป้งจากมันฝรั่งและมันเทศได้ประมาณ 3 แสนตันหรือร้อยละ 9 ของความต้องการใช้ทั้งหมด  และนำเข้าเมล็ดข้าวโพดเพื่อผลิตแป้งอีกประมาณร้อยละ 74  ที่เหลือเป็นการนำเข้าในรูปแป้งทั้งแป้งดิบและแป้งแปรรูป โดยมีความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มในรูป corn syrup, glucose syrup, maltodextrin ประมาณร้อยละ 57   ใช้ในอุตสาหกรรมกระดาษประมาณร้อยละ 16-20 ที่เหลือเป็นการใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและอื่นๆ
            สำหรับการนำเข้า ญี่ปุ่นนำเข้าแป้งดิบและแป้งแปรรูปปีละ 4.0 - 4.5 แสนตัน โดยนำเข้าจากไทยมากกว่าร้อยละ 60 ของแป้งนำเข้าทั้งหมด ในปี 2550 นำเข้าแป้งดิบจากไทย 138,000 ตัน  ซึ่งผู้นำเข้าแป้งดิบจะได้รับการจัดสรรโควตานำเข้าโดยไม่เสียภาษีนำเข้า  แต่ต้องรับซื้อแป้งมันฝรั่งและมันเทศที่ผลิตในประเทศ รวมถึงจ่ายภาษีเพิ่มเติม(levy)   ที่คำนวณจากส่วนต่างของค่าเฉลี่ยของราคาแป้งนำเข้าและแป้งในประเทศ  สำหรับแป้งแปรรูป ตามความตกลง JTEPA ไทยได้รับโควตาจำนวน 200,000 ตัน โดยไม่เสียภาษี   ซึ่งในปี 2550 นำเข้าแป้งแปรรูปจากไทย ถึง 240,000 ตัน ส่วนที่เกินโควตาต้องเสียภาษีร้อยละ 6.8
            คาดว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า ความต้องการแป้งของญี่ปุ่นยังทรงตัวอยู่ในระดับ 3.400 ล้านตัน ขณะที่ราคาข้าวโพดมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอีกในปีนี้  เนื่องจากสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบข้าวโพดของญี่ปุ่นเกิดภาวะขาดแคลน จากการนำข้าวโพดไปใช้เป็นวัตถุดิบพลังงานทดแทนจำนวนมาก ขณะที่การผลิตขยายตัวได้ไม่ทันกับความต้องการ  โดยที่การขยายตัวของการใช้แป้งแปรรูปในอุตสาหกรรมเบเกอร์รี่และอาหารแช่เย็นแช่แข็งเติบโตตามสภาพเศรษฐกิจ  และปัจจุบันผู้บริโภคญี่ปุ่นต้องการอาหารที่มีคุณภาพและรสชาติดี ทั้งนี้อุตสาหกรรมอาหารใช้แป้งแปรรูปจากมันสำปะหลังทำให้อาหารมีคุณสมบัติที่ดีขึ้น ช่วยลดต้นทุนการผลิตและทำให้อายุสินค้า(Shelf life)ยาวนานขึ้น  โดยแป้งมันสำปะหลังมีคุณสมบัติที่ดีกว่าแป้งชนิดอื่นคือ ปราศจากสีและกลิ่น มีความบริสุทธิ์สูง มีความเหนียวและคงทนต่อการเปลี่ยนแปลง  ทำให้เป็นโอกาสทองของไทยในการขยายตลาดแป้งมัน
            เพื่อเพิ่มปริมาณการส่งออกแป้งมันสำปะหลังไทยในตลาดญี่ปุ่นให้มากขึ้น อันจะเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ประเทศ และประโยชน์แก่เกษตรกร จำเป็นต้องดำเนินการ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตแป้งมันให้เหมาะสมต่อการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมอาหารต่างๆ  พัฒนาพันธุ์ที่เหมาะสมเพื่อการผลิตแป้ง การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตต่อไร่มันสำปะหลังให้สูงขึ้น เพื่อให้สามารถแข่งขันด้านราคากับแป้งข้าวโพดได้ การประชาสัมพันธ์ประโยชน์ของการใช้แป้งมันไทย(Application)ในอุตสาหกรรมอาหาร และการเจรจาและผลักดันให้มีการขยายโควตานำเข้าเพิ่มขึ้น  เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่นมากขึ้น

จุดแข็ง
ประเทศไทยผลิตมันสำปะหลังสดเป็นหลัก
เป็นสินค้าจำเป็น และได้รับการยอมรับด้านคุณภาพ
จุดอ่อน
คุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัย
โอกาส
การผลิตขยายตัวได้ไม่ทันกับความต้องการ  โดยที่การขยายตัวของการใช้แป้งแปรรูปในอุตสาหกรรมเบเกอรี่และอาหารแช่เย็นแช่แข็งเติบโตตามสภาพเศรษฐกิจ  และปัจจุบันผู้บริโภคญี่ปุ่นต้องการอาหารที่มีคุณภาพและรสชาติดี ทั้งนี้อุตสาหกรรมอาหารใช้แป้งแปรรูปจากมันสำปะหลังทำให้อาหารมีคุณสมบัติที่ดีขึ้น ช่วยลดต้นทุนการผลิตและทำให้อายุสินค้า(Shelf life)ยาวนานขึ้น  โดยแป้งมันสำปะหลังมีคุณสมบัติที่ดีกว่าแป้งชนิดอื่นคือ ปราศจากสีและกลิ่น มีความบริสุทธิ์สูง มีความเหนียวและคงทนต่อการเปลี่ยนแปลง  ทำให้เป็นโอกาสทองของไทยในการขยายตลาดแป้งมัน
อุปสรรค
เศรษฐกิจที่ชะลอตัวในญี่ปุ่น


วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประวัติประเทศญี่ปุ่น

ประวัติประเทศญี่ปุ่น
ภูมิประเทศของญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 20 และ 30 องศา เหนือ และลองติจูดที่ 123 และ154 องศา ตะวันออก เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ ทางตะวันออก สุดของโลก จึงเรียกว่า "ดินแดนอาทิตย์อุทัย" ญี่ปุ่นมีพื้นที่ประมาณ 372,000 ตารางกิโลเมตร ความยาวจากเหนือจดใต้ คือ 2,500 กิโลเมตร ญี่ปุ่นเป็นเกาะที่มีลักษณะเป็นแนวยาว จากด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ของ มหาสมุทรแปซิฟิก และตั้งอยู่ทางด้าน ตะวันออกของแผ่นดิน ยูเรเชียประกอบด้วย เกาะใหญ่ 4 เกาะ ได้แก่ ฮอกไกโด ฮอนชู ชิโคกุ และกิวชิว นอกจากนี้ ยังมีเกาะเล็กเกาะน้อยอีกราว 4,000 เกาะ พื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นภูเขาและ เนินเขา มีขนาดเล็กกว่า ประเทศไทย 0.7 เท่า แต่มีประชากร มากกว่าประมาณ 2 เท่า ประเทศ ญี่ปุ่น มีเมืองหลวงคือ โตเกียว (Tokyo) เป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุด จากเมืองทั้งหมดในญี่ปุ่น ญี่ปุ่นมีพื้นที่ 377,801 ตารางกิโลเมตร หรือ 145,869 ตารางไมล์ ตั้งอยู่ทางตะวันออกของทวีปเอเชีย ประกอบด้วย 4 เกาะใหญ่ อันได้แ ก่ ฮอกไกโ(Hokkaido) ฮอนชู (Honshu) ชิโกกุ (Shikoku) และคิวชู (Kyushu) และมีเกาะเล็กเกาะน้อยอีกราว 3,000 เกาะ เมืองหลวง คือ โตเกียว

ญี่ปุ่นมี 4 ฤดูกาล คือ

ใบไม้ผลิ อยู่ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม คนญี่ปุ่นถือว่าเป็นฤดูแห่งการเริ่มต้นใหม่ของสิ่งต่างๆ รวมทั้งเป็นช่วงเปิดเทอมของเด็กๆ อีกด้วย จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่จะพบเห็นชาวญี่ปุ่นออกมาเดินเล่นและ มีกิจกรรมนอกบ้านกันมากมาย ทั้งนี้ตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน-ประมาณวันที่ 5 พฤษภาคม ยังถือเป็นช่วงสัปดาห์ทอง-Golden Weekของชาวญี่ปุ่นที่จะได้พักผ่อนติดต่อกันยาวนาน

ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน-สิงหาคม อาบแดด แคมปิ้ง และการพักผ่อนยังชายหาด คือกิจกรรมยอดนิยมในช่วงฤดูร้อน และยังคงเป็นฤดูที่ชาวญี่ปุ่นไม่ว่าเด็ก หรือคนชราชอบมากที่สุด เพราะสิ่งที่มากับอากาศร้อนก็คือ เ สียงร้องเพลงของเหล่าจิ้งหรีดตัวน้อย และลมอ่อนๆ ที่ช่วยไม่ให้อากาศร้อนอบอ้าวเกินไปนัก ในช่วงนี้เองที่ชาวญี่ปุ่นนิยมส่งการ์ดที่เรียกว่า Shochu-mimai เพื่อสอบถามถึงกิจกรรมในช่วงฤดูร้อนของกันและกัน

ฤดูใบไม้ร่วง ที่แสนโรแมนติกคือตั้งแต่ช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน ใบไม้สีเขียวสีแดงร่วงลงทับถมบริเวณทั่วไป และเป็นช่วงของการแข่งกีฬาระหว่างโรงเรียน ปลายฤดูใบไม้ร่วงก่อนถึงฤดูหนาวจะเป็นช่วงที่พระอาทิตย์ส่องแสงยาวนานที่สุด ชาวญี่ปุ่นเรียกช่วงนี้ว่า Koharubiyori หรือช่วงฤดูใบไม้ร่วงน้อยๆ เช่นเดียวกับที่ชาวอินเดียนแดง ในอเมริกา ใช้เรียกฤดูร้อนของตน

ฤดูหนาว กินระยะเวลาจากเดือนธันวาคมจนกระทั่งถึงเดือนกุมภาพันธ์ นับเป็นช่วงหนาวที่โหดร้ายสำหรับชาวญี่ปุ่นแถบทางเหนือของฮอกไกโด โตโฮกุ และ โฮคุริกุ เลยทีเดียว สิ่งน่ารื่นรมย์สำหรับฤดูหนาวเห็นจะได้แก่เทศกาล Omisoka คล้ายๆ การส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ แต่จะไม่ตรงกับที่ 31 ธันวาคม หากจะอยู่ในช่วง 1-2 สัปดาห์ก่อนปีใหม่ ที่คนในครอบครัวจะใช้เวลาอาหารเย็นร่วมกันอย่างเป็นสุข ส่วนใหญ่จะนิยมฉลองกันด้วยบะหมี่ที่เรียกว่า Toshikoshi soba หรือบะหมี่ข้ามปี พร้อมรอคอยการฟังเสียงระฆังต้อนรับปีใหม่ ที่เรียกว่า Joya no kane



เมืองต่างๆของญี่ปุ่นมีดังต่อไปนี้

1. โยโกฮาม่า นี่คือเมืองใหญ่อันดับ 2 ของประเทศ แม้ด้วยความเป็นเมืองธุรกิจที่ทันสมัยและเต็มไปด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ แต่บรรยากาศเช่นนี้ ก็สามารถทำให้ผู้มาเยือนกลับไปด้วยความประทับใจไม่น้อยเลย
2. ชิสึโอกะ มีภูเขาไฟ ฟูจิ ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายทั่วโลกเป็นสิ่งขึ้นหน้าขึ้นตา อยู่ห่างโตเกียวไม่ไกล ปัจจุบันมีประชากรหนาแน่นกว่า 3.8 ล้านชีวิต ส่วนเรื่องภูมิประเทศนั้น สวยงามทีเดียว เพราะประกอบไปทั้ง แม่น้ำ, ภูเขา, น้ำพุร้อน รวมทั้ง ทะเลสาบ ขณะที่สินค้าพื้นเมืองที่ผู้ไปเยือนต้องทดลองให้ได้คือ ชาเขียว อันเลื่องชื่อ
3. โอซาก้า คือเมืองแห่งการค้าชื่อดัง ขณะเดียวกันก็มีชื่อเรื่องความเป็นเมือง แห่งกีฬา ดังนั้นจึงไม่แปลกที่พวกเขาจะเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดโอลิมปิก ปี 2008 สำหรับ นาไก สเตเดี้ยมนั้น มีลู่วิ่งล้อมรอบตัวสนามด้วย โอซาก้า ตั้งอยู่จุดศูนย์กลางของประเทศและฉายา เมืองแห่งสายน้ำ ก็ได้มา เพราะการที่มีแม่น้ำ หลายสายกระจุกอยู่ในเมืองนั่นเอง ขณะเดียวกัน โอซาก้า ก็จัดเป็นเมืองที่มีวัฒนธรรมอันโดดเด่นด้วย ส่วนผู้คนจากเมืองได้ รับการยกย่องว่าขยัน
4. โกเบ เคยเป็นเจ้าภาพกีฬา โอลิมปิกนักเรียน มาแล้วในปี 1985 แต่ในทศวรรษถัดมาเมืองนี้ต้องประสบกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ โดยชื่อ วิง สเตเดี้ยม นี้ เป็นการตั้งขึ้นเพื่อให้เห็นภาพนกบินจากเถ้าถ่านของภัยพิบัติ เปรียบดั่งชีวิตของคนโกเบ ที่ผ่านพ้นเรื่องราวร้ายๆมา โกเบ จัดว่าเป็นเมืองท่าชั้นแนวหน้าเมืองหนึ่งของโลก ขณะเดียวกันก็มีชื่อ มากในฐานะเมืองแห่งการกีฬา ปัจจุบันมีประชากรอยู่ราว 1.5 ล้านคน จุดที่น่าสนใจเห็นจะเป็นเขตดาวน์ทาวน์ของเมืองนี้ ที่เต็มไปด้วยสินค้าต่างประเทศมากมายหลายชนิด ขณะที่สินค้าพื้นเมืองที่ขึ้นชื่อคือ เหล้าสาเก
5. โออิตะ การคมนาคมที่แสนสะดวกสบายจะนำนักท่องเที่ยวผู้นิยมการผ่อน คลายกาย-ใจมาที่นี่ด้วยเป้าหมายเดียวกันนั่นคือ บ่อน้ำร้อนอันเลื่องชื่อ ซึ่งอ เรียงรายกระจายไปทั่วเมือง ว่ากันว่าในปีหนึ่งๆจะมีนักท่องเที่ยวแห่กันมาแช่ตัวนับล้านคนเลยทีเดียว
6. ไซตามะ ด้วยความเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานรวมทั้งการพัฒนาที่โดดเด่นทำให้ ไซตามะ ได้รับฉายาว่าเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยสีสัน ขณะเดียวกันฉายาก็สะท้อนให้เห็นถึงสีสันของป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์และจะเปลี่ยนสียามฤดูกาลเปลี่ยนแปลงด้วย ที่โดดเด่นคือบรรยากาศในอดีตที่ผู้มาเยือนสามารถรู้สึกได้ยามมาเยือน
7. อิบะระกิ เพียง 1 ชั่วโมงจาก โตเกียว คุณสามารถเดินทางมายังที่นี่ได้ อย่างสะดวกสบาย อิบะระกิ จัดเป็นเมืองแห่งอนาคต เพราะโดดเด่นมากเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆ แต่ขณะเดียวกันธรรมชาติอันสวยงามอย่าง ภูเขา, ทะเลสาบ, บึง รวมทั้ง หาดทรายสวย ก็รอให้นักท่องเที่ยวเข้าไปสัมผัส ส่วนเรื่องสินค้าขึ้นหน้าขึ้นตาได้แก่ ผ้าไหม คนที่ดังที่สุดประจำเมืองนี้ เห็นจะได้แก่ ซิโก้ อดีตซูเปอร์สตาร์ทีมชาติบราซิลเคยมาค้าแข้งและเป็นโค้ชให้กับ คาชิม่า แอนท์เลอร์ส ทีมลูกหนังขวัญใจชาวเมืองนั่นเอง ถึงขนาดมีรูปปั้นดาวเตะแซมบ้าอยู่หน้าทางเข้าสนามฟุตบอล อิบะระกิ เพอร์เฟกชูรัล ซอคเก้อร์ สเตเดี้ยม เลยทีเดียว
8. นีงะตะ หาดทราย, หิมะ, ต้นไม้เขียว หรือ ร้อนเป็นไฟ ทุกอย่าง สามารถเกิดขึ้นได้ ณ ดินแดนแห่งนี้ ไม่มีดินแดนแห่งไหนที่แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลเท่า นีงะตะ แต่ขณะเดียวกันที่นี่ ยังเป็นแหล่งผลิตสินค้าส่งออกที่สำคัญหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ข้าว, ดอกทิวลิป, ลูกแพร์, หัวผักกาด, แตงโม และ สาเก รสหอมหวาน
9. มิยะหงิ อยู่ห่างจาก โตเกียว ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือราว 300 กิโลเมตร และอยู่ในภูมิประเทศที่ว่ากันว่า งดงามมาก เพราะตั้งอยู่ท่ามกลางแนวภูเขาและเส้นแนวชายฝั่งทะเลของมหาสมุทรแปซิฟิก อีกทั้งยังมีหมู่เกาะเล็กๆกว่า 260 เกาะตั้งอยู่รายล้อมด้วย ขณะเดียวกัน มิยะหงิ ก็ได้รับการยกย่องว่า เป็นเมืองที่ผสมผสานศิลปะและวัฒนธรรมที่ลงตัว
10. ซัปโปโร อยู่ทางภาคเหนือของประเทศ ระหว่างมหาสมุทรกับภูเขา แม้จะเพิ่งตั้งมาได้ 130 ปี ทว่าปัจจุบันก็จัดเป็นเมืองใหญ่อันดับ 5 ของประเทศ ด้วยจำนวนประชากรถึง 1.8 ล้านชีวิต ขณะที่การเมืองและเศรษฐกิจบนเมืองแห่งเกาะ ฮ็อกไกโด แห่งนี้ก็เจริญงอกงามไม่น้อยหน้าใครเช่นเดียวกัน

ศาสนา
ชาวญี่ปุ่นในปัจจุบันไม่ได้ยึดติดกับศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ไม่แปลกเลยที่คู่สมรสซึ่งเพิ่งแต่งงานใหม่ จะทำพิธีบอกกล่าวบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วที่หิ้งบูชา ตามแบบของชาวพุทธ แต่ทำพิธีแต่งงานตามแบบชาวคริสต์ และ ไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ศาลเจ้ชินโต ในระหว่างการไปดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ ไม่แปลกอะไรที่คนญี่ปุ่นจะพาลูกสาวอายุ 3ขวบ ลูกชายอายุ 5 ขวบและลูกสาวอายุ 7 ขวบไปที่วัดชินโต ทำพิธีชิจิ-โกะ-ซัน เพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรง แต่จัดงานศพในวัดพุทธ หรือร่วมฉลองเทศกาลคริสต์มาสอย่างสนุกสนาน พิธีกรรมหรือประเพณีต่าง ๆ ทางศาสนานั้น ดูเหมือนจะเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในชีวิตประจำวัน มากกว่าความหมายทางศาสนา ซึ่งคนญี่ปุ่นก็สามารถปฏิบัติตามประเพณีต่าง ๆ ของศาสนาที่แตกต่างกันได้ โดยไม่มีความรู้สึกขัดแย้งแต่อย่างใด นอกจากนั้น ศาสนาชินโต ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติของญี่ปุ่น ไม่กีดกันหรือใจแคบกับศาสนาอื่น และการนำพุทธศาสนา ลัทธิขงจื้อ และคริสตศาสนานิกายคาธอลิค เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นในศตวรรษที่ 17 ก็สร้างความบาดหมาง ระหว่างผู้ที่นับถือศาสนาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในประวัติศาสตร์ทางศาสนาของญี่ปุ่นนั้น มีการสู้รบกันเพราะสาเหตุทางศาสนาค่อนข้างน้อยครั้ง ลักษณะอีกสองประการของศาสนาในญี่ปุ่นคือ ยินยอมให้ผู้ที่นับถือศาสนาที่ต่างกันแต่งงานกันได้ และไม่สอนศาสนาในโรงเรียนโดยทั่วไป

ศาสนาชินโต
ศาสนาชินโตเป็นศาสนาที่เก่าแก่หรือเกิดมาพร้อมกับชาวญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้ คว่า "ชินโต" หมายถึงวิถีของพระเจ้า ศาสนาชินโตมีความเชื่อที่ว่าวัตถุทุกอย่างในธรรมชาติแลปรากฎการณ์ต่าง ๆ มีวิญญาณหรือเทพเจ้าสิงสถิตอยู่ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นความเชื่อแบ[ลัทธิภูติผี ผสมผสานกับการบูชาบรรพบุรุษตามความเชื่อใน คำสั่งสอนในศาสนชินโต นอกจากจะให้เคารพบรรพบุรุษแล้ว ก็ยังสอนให้เด็กรู้จักนบนอบต่อผู้ใหญ่ คนหนุ่มต้องเคารพนบน้อมต่อผู้สูงอายุ ผู้หญิงต้องเคารพผู้ชายซึ่ง ได้กลายมาเป็นระเบียบประเพณีที่ภรรยาต้องอยู่ในอำนาจของสามี การที่ชาวญี่ปุ่นโค้งให้กันอย่างอ่อนน้อมหลายครั้งนั้น ก็เป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงความสุภาพอ่อนน้อม ซึ่งเป็นผลมาจากศาสนาชินโตนี่เอง

ศาสนาพุทธ
พุทธศาสนา เผยแผ่สู่ประเทศญี่ปุ่นโดยผ่านประเทศจีนและเกาหลี ในประมาณกลา'ศตวรรษที่ 6 ในช่วงที่ศาสนาพุทธนิกายมหายานมาถึงญี่ปุ่น คำสอนของพระพุทธเจ้าก็ถูกปรับเปลี่ยนไปมากแล้ว และยิ่งเปลี่ยนแปลงมากขึ้นไปอีกเมื่อต้องเผชิญกับความเชื่อดั้งเดิมที่คนญี่ปุ่นนับถือกันอยู่ ในปัจจุบันศาสนาพุทธในญี่ปุ่นแตกออกเป็น 56 นิกายใหญ่และอีก 170 นิกายย่อย ในวัดพุทธมีพระพุทธรูป ( บุทสึโซ ) ผู้คนที่มาวัดจะจุดธูปบูชาเบื้องหน้าพระพุทธรูป ครอบครัวญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยตั้งแท่นบูชาพระและแท่นบูชาบรรพบุรุษไว้ในบ้าน ปีใหม่ก็ยังคงนิยมไปไหว้ขอพรที่วัดศาสนาพุทธกันอย่างเนืองแน่น

ภาษา
ภาษาราชการ : -ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่ใช้ทั่วประเทศ แม้ว่าจะมีความแตกต่างกันบ้างในแต่ละภูมิภาค ซึ่งจะมีภาษาท้องถิ่นของตนเอง แต่จากจำนวนคนญี่ปุ่นที่มีมากกว่า 120 ล้านคน ทำให้ภาษาญี่ปุ่น เป็นภาษาที่มีผู้ใช้มากเป็นอันดับที่ 10 รองจากภาษาจีน , อังกฤษ , รัสเซียและอื่น ๆ
-ภาษาอังกฤษ จะใช้ได้บ้างก็เฉพาะในบริเวณสนามบิน โรงแรมใหญ่ ๆ หรือสถานที่ราชการบางแห่ง ที่ต้องมีการติดต่อสื่อสารกับคนต่างชาติ แต่โดยทั่วไปแล้ว กล่าวได้ว่า คนญี่ปุ่นที่พูดภาษาอังกฤษได้ดีจะมีน้อยมาก เด็กนักเรียนญี่ปุ่นจะเริ่มเรียนภาษาอังกฤษ เมื่ออยู่ชั้น ม.1 ( เกรด 7 ) และด้วยระบบการสอนที่เน้นการให้ข้อมูล การท่องจำเพื่อสอบแข่งขันมากกว่าการใช้ในชีวิตจริง จึงทำให้เด็กญี่ปุ่นไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ แต่อาจจะเขียนและอ่านได้ดีกว่า ดังนั้น สำหรับชาวต่างชาติแล้ว หากไม่รู้ภาษาญี่ปุ่นเลย ก็จะลำบากต่อการใช้ชีวิตในญี่ปุ่นมากทีเดียว

ตัวอักษร :
ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลการเขียนตัวอักษรแบบจีน และวัฒนธรรมจีนมา ตั้งแต่เมื่อคริสตศตวรรษที่ 7 และ 8 ซึ่งยังคงมีอิทธิพลต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากตัวหนังสือที่ใช้อยู่ 3 แบบคือ แบบที่ 1 และแบบที่ 2 คือ ฮิรางานะ ( Hiragana ) และ คาตากานะ ( Katagana ) ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นในญี่ปุ่น จากการย่ออักษรจีนบางตัว ทั้งสองแบบมีตัวอักษรอย่างละ 46 ตัว และแสดงเสียงตามพยางค์ แบบที่ 3 คือคันจิ ( Kanji ) เป็นตัวอักษรจีน ซึ่งเป็นอักษรภาพที่แสดงความหมายในตัวเอง อักษรจีนที่ถูกใช้อยู่มีประมาณ 3,000 ตัว แต่จำนวนอักษรจีนที่ถูกระบุอย่างเป็นทางการ ว่าใช้กันอยู่ทั่วไปในปัจจุบันมีเพียง 1,945 ตัวเท่านั้น ในการเขียนประโยคต่าง ๆ จะใช้อักษรจีนผสมกับอักษรแบบฮิรางานะ สำหรับชื่อสถานที่ ชื่อเฉพาะอื่น ๆ ที่มาจากอเมริกา ยุโรป และประเทศอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อักษรแบบจีน รวมถึงคำศัพท์เทคนิคซึ่งยืมจากภาษาต่างประเทศ จะเขียนด้วยอักษรคาตะกานะ ภาษาญี่ปุ่นอาจเขียนในแนวดิ่งจากข้างบนลงข้างล่างก็ได้ หรือจะเขียนตามขวางจากซ้ายไปขวาก็ได้

เศรษฐกิจ

รถยนต์
รถยนต์คือหนึ่งในผลิตภัณฑ์ของญี่ปุ่นที่ร้จักกันดีที่สุด ในปี พ.ศ. 2533 ญี่ปุ่นผลิตรถยนต์ รถ โดยสารและรถบรรทุกประมาณ 13.5 ล้านคัน มากกว่าประเทศอื่นใด รถยนต์จำนวนมากผลิตโดยหุ่นยนต์ หุ่นยนต์พวกนี้คือเครื่องจักรกลที่สลับซับซ้อน ซึ่งถูกออกแบบสำหรับการทำงานพิเศษเฉพาะอย่าง หุ่นยนต์สามารถทำงานน่าเบื่อหน่ายและจำเจ เปิดโอกาสให้คนมีอิสระในการทำงานที่น่าสนใจและยุ่งยากซับซ้อนประเทศญี่ปุ่นอาจเป็นประเทศที่มีหุ่นยนต์อุตสาหกรรมมากกว่าประเทศพัฒนาประเทศอื่นๆรวมกัน รถยนต์ที่ผลิตได้ในประเทศญี่ปุ่นส่วนหนึ่งถูกส่งออก แต่บริษัทรถยนต์ญี่ปุ่นก็ยังสร้างโรงงานในหลายๆประเทศ

อิเลกทรอนิกส์
อุตสาหกรรมสำคัญอีกอย่างคืออิเลกทรอนิกส์ บริษัทอิเลกทรอนิกส์ญี่ปุ่นผลิตสินค้าแตกต่างกันหลายชนิด ตั้งแต่สเตอริโอส่วนตัว วิทยุ คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์โทรคมนาคม

การเกษตร
ประเทศญี่ปุ่นมีพื้นที่เหมาะสมแก่การเพาะปลูกทางการเกษตรเพียง ร้อยละ 14 เท่านั้น ไร่นามีขนาดเล็กโดยเฉลี่ยประมาณ 1.4 เฮคตาร์ (ประมาณ 8.75 ไร่) ที่ว่างทุกส่วนมีค่าและชาวนาใช้ที่ดินให้ได้ประโยชน์สูงสุด โดยปลูกผลผลิต ให้ได้มากที่สุดในทุกเฮคตาร์ ปุ๋ย เครื่องจักร และการดูแลเอาใจใส่ด้วย ความอดทน ตลอดจนเทคนิคที่ดีเยี่ยมช่วยให้ชาวไร่ชาวนา สามารถผลิต พืชผลได้มากกว่าสองในสามของผักและผลไม้ที่บริโภคภายในประเทศ ชาวไร่ชาวสวนยังใช้ที่ดินบางส่วนเลี้ยงไก่ วัว และหมู ถึงแม้ว่าประเทศญี่ปุ่นผลิตข้าวได้เพียงพอที่จะเลี้ยงประชากรทั้งประเทศ แต่ยังต้องนำเข้าผลิตผลทางการเกษตรประเภทอื่น

การประมง
ปลาเป็นส่วนสำคัญของอาหารญี่ปุ่น ดังนั้นการประมงจึงเป็นอุตสาหกรรมหลัก ซึ่งมีทั้งการจากที่จับในท้องทะเล และได้มาจากการเลี้ยงในฟาร์ม อย่างไรก็ดี ปริมาณที่ได้ยังคงไม่เพียงพอ ดังนั้นประมาณร้อยละ 10 ของปลาที่ประชาชนบริโภคในประเทศญี่ปุ่นเป็นการนำเข้า

ทรัพยากรธรรมชาติ
ประเทศญี่ปุ่นสร้างพลังงานบางส่วนโดยใช้น้ำ ดวงอาทิตย์ ความร้อน และพลังงานนิวเคลียร์ อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นยังต้องนำเข้าทรัพยากรที่จำเป็นส่วนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องนำเข้าน้ำมันเกือบทั้งหมด ประเทศญี่ปุ่นผลิตสินค้าเพื่อส่งออกจะได้สามารถนำเงินมาจ่ายค่าทรัพยากร

การค้า
ญี่ปุ่นซื้อและขายสินค้ากับเกือบทุกประเทศทั่วโลก ประมาณ 1 ใน 3 ของการส่งออกของญี่ปุ่น นั้นส่งไปสหรัฐอเมริกา ขณะที่ 1 ใน 4 ของการนำเข้าก็มาจากสหรัฐอเมริกาเช่นกัน ประเทศคู่ค้าสำคัญๆของญี่ปุ่นในเอเซียก็มีเช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และไต้หวัน บริษัทญี่ปุ่นหลายบริษัทเปิดโรงงานในต่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2533 บริษัทญี่ปุ่นใช้จ่ายประมาณ 57,000 ล้านดอลล่าห์สหรัฐในการสร้างโรงงานและสำนักงานแห่งใหม่ทั่วโลก นอกจากนี้รัฐบาลญี่ปุ่นยังให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาประเทศให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาด้วย

ประชากร
ประเทศญี่ปุ่นมีประชากรมากกว่า 123 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 7 ของโลก แต่ในระยะไม่กี่ปีนี้จำนวนประชากรคงที่ ประชากรชาวญี่ปุ่นสืบเชื้อสายมาจากการรวมกันของกลุ่มชนกลุ่มน้อยในสมัยโบราณ ชนชาติพื้นเมืองของหมู่เกาะญี่ปุ่นได้ผสมผสานเข้ากับประชาชนจากแผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเชีย และหมู่เกาาะในแปซิฟิก ภาษาและวัฒณธรรมญี่ปุ่นดังที่เรารู้จักกันในปัจจุบันนี้ได้พัฒนามาจากการผสมผสานนี้ หากคุณเดินทางทั่วประเทศญี่ปุ่น คุณจะสังเกตเห็นความแตกต่างระหว่างภูมิภาค รวมไปถึงภาษาถิ่นด้วย ตัวอย่างเช่น ชาวโตเกียวพูกขอบคุณด้วยคำว่า "อาริงาโตะ" แต่ที่เกียวโตทางตะวันตกของญี่ปุ่นจะใช้คำว่า "โอคินิ" ถึงแม้ว่าประเทศญี่ปุ่นมีประชากรจำนวนมาก แตมีพื้นที่อยู่อาศัยค่อนข้างเล็ก ดังนั้นจึงเป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่น คือโดยเฉลี่ยมีประชากร 332 คนต่อพื้นที่ 11 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นภูเขาและลำบากต่อการพัฒนา ดังนั้นตามสภาพความเป็นจริงประชากรจะอาศัยอยู่ในพื้นที่เพียงไม่ถึงร้อยละ 10 ของพื้นที่ประเทศทั้งหมด ด้วยเหตุนี้บางพื้นที่มีประะชากรหนาแน่นมากกว่าเกณฑ์เฉลี่ย ประชากรจำนวนมากอาศัยในพื้นที่ราบใกล้มหาสมุทร และโดยส่วนมากเมืองใหญ่ๆ ของญี่ปุ่นตั้งอยู่ในพื้นที่ราบเช่นนี้ ชาวญี่ปุ่นมากกว่า 4 คนในทุก 5 คนอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่หรือเมืองขนาดย่อมลงมา ในโตเกียวซึ่งเป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 12 ล้านคน เมืองใหญ่ๆ ที่มีประชากรมากกว่า 1 ล้านคน ได้แก่ ฟุกุโอกะ โกเบ เกียวโต โอซาก้า ซับโปโร และโยโกฮาม่า

ครอบครัว
ปัจจุบันนี้ครอบครัวญี่ปุ่นโดยมากมีบุตรเพียงหนึ่งหรือสองคน ในอดีตปู่ ย่า ตา ยาย อาศัยอยู่กับลูกหลาน ทว่าเดี๋ยวนี้คนสูงอายุที่อาศัยอยู่ลำพังมีจำนวนเพิ่มขึ้น อีกทั้งการมีอายุยืนยาวขึ้นของชาวญี่ปุ่น ประเทศญี่ปุ่นจึงต้องพัฒนาวิธีใหม่ๆในการช่วยเหลือและดูแลผู้สูงอายุ

การงาน
ชาวญี่ปุ่นบ้างก็ทำงานกับบริษัทขนาดใหญ่ และบริษัทขนาดใหญ่ๆเหล่านี้บางบบริษัทได้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักดีทั่วโลก คนที่ทำงานกับบริษัทใหญ่และชื่อดังเช่นนี้ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บริษัท บางครั้งพวกเขาต้องไปทำงานในสถานที่ห่างไกลบ้านมาก และแน่นอนว่าต้องมีบริษัทเล็กๆในญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก บริษัทเล็กๆเหล่านี้เป็นธุรกิจแบบครอบครัว บ้างก็ทำด้านเกษตร โรงงานหรือร้านค้า การทำธุรกิจแบบครอบครัวนี้ ทุกคนช่วยกันทำงานและบุตรชายคนโตจะเป็นผู้สืบทอดกิจการ เมื่อบิดาเกษียณอายุ ในเวลาไม่นานมานี้เอง คนงานในญี่ปุ่นโดยส่วนมากแล้วยังคงเป็นงานชาย แต่ขณะนี้สภาพการณ์กำลังเปลี่ยนแปลงเนื่องจากมีคนงานหญิงทำงานในบริษัทญี่ปุ่นเป็นจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ระบบการศึกษา
ระบบการศึกษาของญี่ปุ่นแบ่งเป็น 5 ระดับ

1. อนุบาล (อายุ 3-6 ปี)

2. ประถมศึกษา (อายุ 6-12 ปี)

3. มัธยมศึกษาตอนต้น (อายุ 12-15 ปี)

4. มัธยมศึกษาตอนปลาย (อายุ 15-18 ปี)

5. วิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย

เด็กญี่ปุ่นทุกคนต้องเข้าเรียนตั้งแต่อายุ 6-15 ปี เด็กจำนวนไม่น้อยเริ่มเรียนเร็วกว่าโดยเริ่มเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาลในวัย 3 หรือ 4 ขวบ เด็กญี่ปุ่นเกือบทั้งหมดจะเรียนจนกระทั่งอายุ 18 หลังจากนั้นประมาณสามส่วนของจำนวนเด็กจะก้าวสู่การศึกษาในระดับสูงขึ้น

เด็กนักเรียนบางคนไม่เรียนในโรงเรียนมัธยมปลายที่อยู่ใกล้บ้าน เพราะมีความรู้สึกว่าโรงเรียนบบางโรงเรียน และมหาวิทยาลัยบางแห่งดีกว่าโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยอื่น พวกเขาเชื่อว่านักเรียนที่เรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ดีจะสามารถเข้ามหาวิทยาลัยที่ดี ซึ่งทำให้การได้งานที่ดีเป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงมีการแข่งขันอย่างหนักเพื่อเข้าเรียนในโรงเรียนบางแห่ง ทุกโรงเรียนเลือกเด็กนักเรียนตามผลของการเข้าสอบ ซึ่งแต่ละโรงเรียนเป็นผู้ออกข้อสอบของตนเอง ข้อสอบของโรงเรียนที่มีชื่อเสียงมากก็ยากมาก ฉะนั้นนักเรียนจำนวนไม่น้อยจึงเรียนพิเศษที่โรงเรียนพิเศษ (จูคุ) ในตอยเย็นและวันหยุดสุดสัปดาห์ เพื่อช่วยในการเตรียมตัวสำหรับสอบเข้า

รัฐบาล
ประเทศญี่ปุ่นมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย พลเมืองวัยรุ่นบรรลุนิติภาวะทุกคนมีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงและลงสมัครรับเลือกตั้งระดับชาติและระดับภูมิภาค พรรคการเมืองใหญ่มี 6 พรรคพรรคที่เข้มแข็งที่สุดคือประชาธิประไตย(ลิเบอรัล เดโมแครติค พาร์ตี้) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 สถาบันนิติบัญญัติแห่งชาติของญี่ปุ่นเรียกว่า สภาไดเอ็ต ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุมิสภา สมาชิกผู้แทนราษฎร ได้รับเลือกมาจากเขตเลือกตั้งท้องถิ่น สมาชิกวุมิสภาเป็นการเลือกจากเขตเลือกตั้งของจังหวัดหรือเขตเลือกตั้งแห่งชาติ กฎหมายเกือบทุกฉบับต้องผ่านการเห็นชอบของทั้งสองสภา มีกฎหมายเพียงบางประเภทที่ต้องผ่านการตัดสินใจของสภาผู้แทนราษฎรในภายหลังหากสองสภาไม่เห็นชอบ นายกรัฐมนตรีเป็นสมาชิกของสภาไดเอ็ต และสภาไดเอ็ตทำการเลือกนายกรัฐมนตรีขณะ นายกรัฐมนตรีเป็นผุ้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี แต่ละกระทรวงมีรัฐมนตรีแต่ละคนเป็นหัวหน้า รัฐบาลแห่งชาติรับผิดชอบเรื่องราวต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อทั้งประเทศ ประเทสญี่ปุ่นแบ่งออกเป็น 47 จังหวัด และแต่ละจังหวัดมีฝ่ายบริหารที่มาจากการเลือกตั้ง ทุกนครใหญ่ เมือง และแต่ละหมู่บ้านในแต่ละจังหวัดเลือกฝ่ายบริหารของตนเอง รัฐบาลระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่นรับผิดชอบการบริหารในระดับของตน

พระราชวงศ์
ประเทศญี่ปุ่นมีพระจักรพรรดิ ตามรัฐธรรมนูญของประเททศญี่ปุ่น พระจักรพรรดิทรงเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ และความสามัคคีของปวงชน พระจักรพรรดิญี่ปุ่นทรงไม่มีอำนาจในส่วนเกี่ยวกับการบริหารประเทศ พระราชวงศ์ญี่ปุ่นสืบราชสมบัติต่อเนื่องมานับหลายศ๖วรรษ นับเป็นพระราชวงศ์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก พระจักรพรรดิพระองค์ปัจจุบันคือ สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโต เสด็จขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2532 สมเด็จพระจักรพรรดิและสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดาสามพระองค์ สมเด็จพระจักรพรรดิและสมาชิกในพระราชวงศ์ประทับ ณ พระราชวังอิมพีเรียลในโตเกียว


เศรษฐกิจและภาษาญี่ปุ่น

เศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่น
ไฟล์:Tokyo stock exchange.jpg
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้รับความบอบช้ำจากสงครามเป็นอย่างมาก แต่ก็สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วเพราะปัจจัยหลายอย่างเช่นการแทรกแซงของรัฐบาล แรงงานที่ถูกและมีคุณภาพ อัตราการออมและการลงทุนที่สูง ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2500-2520 เป็นช่วงที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตอย่างมาก อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แท้จริงในช่วงพุทธทศวรรษที่ 2500, 2510 และ 2520 เฉลี่ยร้อยละ 10, 5 และ 4 ตามลำดับ ตั้งแต่ช่วงต้นพุทธทศวรรษที่ 2510 ญี่ปุ่นประสบปัญหาค่าเงินเยนแข็งตัวจนทำให้บริษัทจำนวนมากย้ายฐานการผลิตออกไปนอกประเทศ หลังจากเกิดฟองสบู่แตกต้นพุทธทศวรรษที่ 2530 เศรษฐกิจก็เริ่มชะลอตัว และส่งผลต่อเนื่องตลอดพุทธทศวรรษที่ 2530 รัฐบาลพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยวิธีต่าง ๆ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ และยังถูกซ้ำเติมจากผลกระทบของเศรษฐกิจชะลอตัวในปี พ.ศ. 2543 สภาพเศรษฐกิจหลังจากปี พ.ศ. 2548 ดูเหมือนจะฟื้นตัวขึ้นจากตัวเลขการขยายตัวของจีดีพีที่สูงขึ้น แต่ญี่ปุ่นก็กลับประสบปัญหาอีกครั้งเมื่อเกิดวิกฤติทางการเงินที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลกแม้ว่าธุรกิจภาคการเงินของญี่ปุ่นได้รับผลกระทบน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ เพราะทศวรรษแห่งภาวะเศรษฐกิจซบเซาที่ทำให้ญี่ปุ่นระมัดระวังในการลงทุนมากขึ้น แต่การที่ญี่ปุ่นพึ่งพาการส่งออกรถยนต์และสินค้าอิเลคโทรนิคมากเกินไปก็ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจ และทำให้เกิดปัญหาการว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ญี่ปุ่นมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา เมื่อวัดด้วยจีดีพีก่อนปรับอัตราเงินเฟ้อ (ประมาณ 4.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) และอันดับที่ 3 รองจากสหรัฐอเมริกาและจีน เมื่อวัดด้วยอำนาจการซื้อญี่ปุ่นมีกำลังการผลิตที่สูงและเป็นประเทศต้นกำเนิดของผู้ผลิตชั้นนำที่ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น รถยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร เหล็กกล้า โลหะนอกกลุ่มเหล็ก เรือ สารเคมี
จากข้อมูลใน พ.ศ. 2548 แรงงานของประเทศญี่ปุ่นมีจำนวน 66.7 ล้านคนญี่ปุ่นมีอัตราว่างงานที่ต่ำคือประมาณร้อยละ 4ค่าจีดีพีต่อชั่วโมงการทำงานอยู่ในอันดับที่ 20 ของโลกใน พ.ศ. 2548 และเป็นอันดับ 1 ของเอเชียบริษัทใหญ่ของญี่ปุ่นหลายแห่งมีชื่อเสียงไปทั่วโลก เช่นโตโยต้า โซนี่ เอ็นทีที โดโคโม แคนนอน ฮอนด้า ทาเคดา นินเทนโด นิปปอน สตีล และ เซเว่น อีเลฟเว่น ญี่ปุ่นเป็นต้นกำเนิดของธนาคารที่ใหญ่ที่สุดหลายแห่งตลาดหลักทรัพย์โตเกียวซึ่งมักจะเป็นที่รู้จักเพราะดัชนีนิเคอิมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกเมื่อวัดด้วยมูลค่าตลาด
ญี่ปุ่นมีลักษณะเฉพาะในการทำธุรกิจหลายอย่าง เช่นเคเระสึหรือระบบเครือข่ายบริษัทจะมีอิทธิพลในเชิงธุรกิจ การจ้างงานตลอดชีวิตและการเลื่อนขั้นตามความอาวุโสจะพบเห็นได้ทั่วไป บริษัทที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจจะถือหุ้นของกันและกันผู้ถือหุ้นมักจะไม่มีบทบาทกับการบริหารของบริษัทแต่ในปัจจุบันญี่ปุ่นเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงออกจากระบบเก่า ๆ เหล่านี้
ใน พ.ศ. 2548 พื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรกรรมมีเพียงร้อยละ 12.6และมีประชากรที่ประกอบการเกษตรเพียงร้อยละ 6.6เท่านั้น ผลผลิตทางการเกษตรที่ผลิตได้มากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ได้แก่ไหม กะหล่ำปลี ข้าว มัน และชา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นต้องพึ่งพาการนำเข้าอาหารถึงร้อยละ 60 จึงเป็นประเทศที่มีอัตราการเลี้ยงตนเองค่อนข้างต่ำ ในระยะหลังกระแสความกังวลเรื่องความปลอดภัยของอาหารทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศเป็นที่ต้องการมากขึ้น

ภาษาญี่ปุ่น
ภาษาญี่ปุ่น (日本語, นิฮงโงะ ) เป็นภาษาทางการ ของประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันมีผู้ใช้ทั่วโลกราว 130 ล้านคน นอกเหนือจากประเทศญี่ปุ่นแล้ว รัฐอังกาอูร์ สาธารณรัฐปาเลา ได้กำหนดให้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาทางการภาษาหนึ่ง นอกจากนี้ภาษาญี่ปุ่นยังถูกใช้ในหมู่ชาวญี่ปุ่นที่ย้ายไปอยู่นอกประเทศ นักวิจัยญี่ปุ่น และนักธุรกิจต่าง ๆ
คำภาษาญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลมาจากภาษาต่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะภาษาจีน ที่ได้นำมาเผยแพร่มาในประเทศญี่ปุ่นเมื่อกว่า 1,500 ปีที่แล้ว และตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ก็ได้มีการยืมคำจากภาษาต่างประเทศที่ไม่ใช่ภาษาจีนมาใช้อีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เช่นคำที่มาจากภาษาดัตช์ ビール (bier แปลว่า เบียร์) และ コーヒー (koffie แปลว่า กาแฟ)
สถานะทางภูมิศาสตร์
ปัจจุบันภายในประเทศนอกจากจะมีการพูดภาษาญี่ปุ่นกันเป็นหลักอยู่แล้ว ก็ยังมีปรากฏอยู่บ้างภายนอกประเทศ อาทิเช่นจีนแผ่นดินใหญ่ คาบสมุทรเกาหลี และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกก็มีการใช้ภาษาญี่ปุ่นด้วย อันเป็นผลมาจากการที่ทางรัฐบาลญี่ปุ่น บังคับสอนภาษาญี่ปุ่นให้แก่พวกเขาในช่วงก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 นอกจากนี้แล้ว ยังมีผู้อพยพและลูกหลานของชาวญี่ปุ่น ซึ่งได้อพยพไปสู่ทวีปอเมริกา เช่นประเทศสหรัฐอเมริกา ฮาวาย เปรู อาร์เจนตินา บราซิล ชิลี หลังสงครามอีกจำนวนหนึ่งที่ยังคงสามารถพูดภาษาญี่ปุ่นได้อยู่ ถึงแม้ว่าลูกหลานของพวกเขาจะไม่สามารถพูดภาษาญี่ปุ่นได้ก็ตาม
สถานะทางราชการ
ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาทางการของประเทศด้วยความนิยม ซึ่งเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาทางการเต็มตัว (ไม่มีการใช้ภาษาต่างประเทศในวงราชการ) ภาษาญี่ปุ่นมีแบบภาษาที่เรียกกันว่ามาตรฐาน 2 แบบ คือ เฮียวจุงโงะ (標準語, hyōjungo?, ภาษามาตรฐาน) ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้กันโทรทัศน์ และ เคียวซือโงะ (共通語, kyōtsūgo? ภาษาร่วม) ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้กันอย่างไม่เป็นทางการ
สำเนียงท้องถิ่น
ภาษาญี่ปุ่นมีสำเนียงท้องถิ่นมากมายดั่งเช่นประเทศอื่นๆในโลก โดยสามารถแบ่งออกเป็นใหญ่ๆได้ 3 ประเภท คือ
  • แบบโตเกียว หรือ โตเกียวชิกิ (東京式) สำเนียงทางการ ซึ่งพูดกันในฝั่งตะวันออก หรือ ฮิงาชินิฮ่ง (東日本) ของญี่ปุ่น
  • แบบเคฮัง หรือ เคฮังชิกิ (京阪式) ซึ่งพูดกันในฝั่งตะวันตก หรือ นิชินิฮ่ง (西日本) และ
  • แบบคิวชู ซึ่งบางครั้งจะยุบรวมกับแบบเคฮัง เนื่องจากเป็นเป็นส่วนหนึ่งของนิชินิฮ่ง
ในปัจจุบันประเทศญี่ปุ่นไม่จัดว่าสำเนียงแบบโตเกียวเป็นสำเนียงกลางอย่างเป็นทางการ และยังมีการผสมผสานสำเนียงภาษาของแต่ละท้องถิ่นเข้าไปในสื่อและรายการโทรทัศน์ของญี่ปุ่น ดังนี้ จึงทำให้คนญี่ปุ่น เมื่อเดินทางไปยังถิ่นภูมิภาคอื่น ก็ยังคงพูดภาษาของถิ่นตนเองดังเดิม โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนเป็นพูดภาษากลาง
เหล่านี้สามารถเห็นได้ชัดในนักแสดงชาวภูมิภาคคันไซญี่ปุ่น ซึ่งส่วนมากเป็นนักแสดงตลก เมื่อเดินทางไปทำงานที่โตเกียว พวกเขาก็ยังคงพูดภาษาถิ่นคันไซของพวกเขาอยู่ดั่งเดิม โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง จึงให้เกิดรสนิยมที่ว่าดาราตลกญี่ปุ่นต้องพูดภาษาคันไซ สาเหตุที่ทำให้เกิดสิ่งเช่นนี้ก็น่าจะมาจากการออกเสียงของสำเนียงคันไซ ซึ่งฟังดูไม่ลื่นไม่ไพเราะเหมือนถิ่นอื่น กลับกันถ้า นักแสดงละคร หรือดารานักร้อง พวกเขาจะไม่นิยมคนที่พูดสำเนียงคันไซเลย
สำเนียงญี่ปุ่นสามารถแบ่งออกได้เป็นดังนี้

แผนที่ประเทศญี่ปุ่น แสดงการออกเสียงท้ายประโยคของบุคคลในแต่ละถิ่น
ญี่ปุ่นตะวันออก
  • สำเนียงฮอกไกโด
  • สำเนียงโทโฮะกุ หรือ สำเนียงภาคอีสานของญี่ปุ่น (ได้รับอิทธิพลทั้งแบบตะวันตกและแบบตะวันออก)
  • สำเนียงคันโต
  • สำเนียงโทไกโทซัง หรือ สำเนียงนิชิคันโต (คันโตตะวันตก)
ไฟล์:Ja da ya.png
ตัวอักษร
เราจำแนกตัวอักษรญี่ปุ่นออกเป็นสองจำพวก คือ กลุ่มตัวอักษรที่ใช้แทนเสียง ซี่งได้แก่ ฮิระงะนะ และ คะตะคะนะกับ กลุ่มตัวอักษรที่แสดงความหมาย ที่เรียกว่า คันจิ โดยใช้ร่วมกับตัวเลขอารบิก และตัวอักษรโรมัน ซึ่งจะมีความหลากหลายมากกว่าภาษาที่ใช้ในประเทศใกล้เคียง เช่น ภาษาจีนซึ่งใช้ตัวอักษรจีน เป็นหลัก ส่วนภาษาเกาหลีก็จะใช้อักษรฮันกึลเป็นหลัก
เนื่องจากตัวคันจิซึ่งญี่ปุ่นรับมาจากภาษาจีนมีจำนวนมาก บางครั้งมีการใช้ตัวอักษรที่คนส่วนใหญ่ไม่ทราบ กระทรวงศึกษาธิการของรัฐบาลจึงได้กำหนดมาตรฐานของตัวคันจิ ซึ่งเรียกว่า โจโยคันจิ ประกอบด้วยตัวอักษร 1,945 ตัว เป็นตัวคันจิที่คนญี่ปุ่นทั่วไปทราบกันดี โดยไม่จำเป็นต้องเขียนคำอ่านกำกับ
ไวยากรณ์
โครงสร้างประโยคพื้นฐาน
ลำดับของคำในประโยคภาษาญี่ปุ่นคือ ประธาน กรรม และกริยา โดยประธาน กรรม และส่วนอื่นๆในประโยคจะมี"คำช่วย"กำกับอยู่เพื่อบ่งบอกหน้าที่ของคำที่นำหน้า
โครงสร้างประโยคพื้นฐานในภาษาญี่ปุ่นประกอบด้วย หัวเรื่อง และส่วนอธิบาย ตัวอย่างเช่น Kochira wa Tanaka-san desu (こちらは田中さんです) kochira แปลว่า "นี้" เป็นหัวเรื่องของประโยคเพราะมี wa กำกับอยู่ ส่วน Tanaka-san desu เป็นส่วนอธิบายของประโยค desu เป็นกริยาของประโยคที่แปลได้ว่า"เป็น" ประโยคนี้แปลคร่าวๆได้ว่า "สำหรับคนนี้ เขาคือคุณทานากะ" ภาษาญี่ปุ่นมีความคล้ายกับภาษาในเอเชียหลายๆภาษาที่มักจะระบุหัวเรื่องของประโยคแยกจากประธาน กล่าวคือหัวเรื่องของประโยคไม่จำเป็นต้องเป็นประธานของประโยค ตัวอย่างเช่น Zō wa hana-ga nagai desu (象は鼻が長いです) แปลตามตัวได้ว่า "สำหรับช้าง จมูก(ของพวกมัน)ยาว" หัวเรื่องของประโยคคือ zō (ช้าง) ในขณะที่ประธานของประโยคคือ hana (จมูก)
ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่ชอบละคำ กล่าวคือ มักจะมีการละประธานหรือกรรมของประโยคที่เป็นที่รู้กันกันอยู่แล้ว นอกจากนี้ ชาวญี่ปุ่นยังรู้สึกว่าประโยคที่สั้นๆดีกว่าประโยคยาวๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาษาพูด ดังนั้นชาวญี่ปุ่นจึงมักจะละคำต่างๆในประโยคมากกว่าจะอ้างถึงมันด้วยคำสรรพนาม ตัวอย่างเช่น จากประโยคข้างบน hana-ga nagai ก็แปลได้ว่า "จมูก[ของช้าง]ยาว" โดยที่ไม่ต้องระบุหัวเรื่องของประโยคหากเป็นที่เข้าใจตรงกันว่ากำลังกล่าวถึงช้าง นอกจากนี้ กริยาเพียงตัวเดียวก็ถือว่าเป็นประโยคที่สมบูรณ์ได้ เช่น Yatta! แปลว่า "[ฉัน]ทำ[มันสำเร็จแล้ว]" คำคุณศัพท์เพียงตัวเดียวก็ถือว่าเป็นประโยคที่สมบูรณ์ได้เช่นกัน เช่น Urayamashii! แปลว่า "[ฉันรู้สึก]อิจฉา[มัน]"
แม้ว่าภาษาญี่ปุ่นจะมีคำบางคำที่ถือได้ว่าเป็นคำสรรพนาม แต่คนญี่ปุ่นก็ไม่ใช้คำสรรพนามบ่อยเท่ากับภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียน ในทางกลับกัน คนญี่ปุ่นมักจะใช้กริยาพิเศษหรือกริยาช่วยเพื่อบ่งบอกทิศทางของการกระทำ เช่น "ล่าง"เพื่อบ่งบอกว่าการกระทำนี้เป็นการกระทำจากนอกกลุ่มที่เป็นผลประโยชน์ต่อในกลุ่ม และใช้คำว่า"บน"เพื่อบ่งบอกว่าเป็นการกระทำจากภายในกลุ่มที่เป็นประโยชน์ต่อนอกกลุ่ม ตัวอย่างเช่น oshiete moratta แปลว่า "[เขา/พวกเขา]อธิบายให้[ฉัน/พวกเรา]" ขณะที่ oshiete ageta แปลว่า "[ฉัน/พวกเรา]อธิบายให้[เขา/พวกเขา]" การใช้กริยาช่วยในลักษณะนี้ทำให้รู้ผู้กระทำและผู้ถูกกระทำได้เหมือนกับการใช้คำสรรพนามและคำบุพบทในภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียน
คำสรรพนามในภาษาญี่ปุ่นมีลักษณะคล้ายคลึงกับคำนาม กล่าวคือ เราสามารถใช้คำขยายมาขยายคำสรรพนามได้ ซึ่งแตกต่างจากคำสรรพนามในภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียนที่ไม่สามารถกระทำได้ เช่น
The amazed he ran down the street. (เขาที่กำลังงงวิ่งไปตามถนน)
ประโยคข้างบนนี้ไม่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ แต่ถือว่าถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่น
おどろいた彼は道を走っていった。 Odoroita kare wa michi o hashitte itta.
สาเหตุที่คำสรรพนามในภาษาญี่ปุ่นคล้ายคลึงกับคำนาม ส่วนหนึ่งเป็นเพราะคำสรรพนามบางคำมีต้นกำเนิดมาจากคำนาม เช่น kimi ที่แปลว่า "คุณ" แต่เดิมแปลว่า "เจ้านาย" และ boku ที่แปลว่า "ผม" แต่เดิมแปลว่า "ข้ารับใช้" ดังนั้น นักภาษาศาสตร์บางคนจึงไม่จัดว่าคำสรรพนามในภาษาญี่ปุ่นเป็นคำสรรพนามที่แท้จริง แต่เป็นคำนามที่ใช้อ้างอิง คนญี่ปุ่นจะใช้คำเรียกตัวเองในกรณีที่ต้องบอกว่าใครกำลังทำอะไรให้ใครเท่านั้น
คำสรรพนามที่ใช้เรียกตัวเองขึ้นอยู่กับเพศของผู้พูดและสถานการณ์ในขณะนั้น ในสถานการณ์ที่เป็นทางการ ผู้หญิงและผู้ชายสามารถใช้ watashi หรือ watakushi ได้ ส่วนในสถานการณ์ที่เป็นกันเอง ผู้ชายมักเรียกตัวเองว่า ore คำสรรพนามที่ใช้เรียกผู้ฟังนั้นขึ้นอยู่กับสถานภาพทางสังคมและความคุ้นเคยระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง คำบางคำอาจเป็นคำที่สุภาพในสถานการณ์หนึ่ง แต่อาจไม่สุภาพในอีกสถานการณ์หนึ่งก็ได้
ชาวญี่ปุ่นมักเรียกบุคคลด้วยตำแหน่งหน้าที่แทนการใช้สรรพนาม ตัวอย่าง เช่น นักเรียนเรียกอาจารย์ว่า sensei (先生, อาจารย์) ไม่ใช่ anata ซึ่งถือว่าไม่เหมาะสมเพราะคำว่า anata ใช้เรียกบุคคลที่มีสถานภาพเท่ากันหรือต่ำกว่าเท่านั้น
ชาวต่างชาติที่พูดภาษาญี่ปุ่นมักขึ้นต้นประโยคด้วยคำว่า watashi-wa แม้ว่าประโยคนี้จะถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ แต่ก็ฟังดูแปลกมากสำหรับชาวญี่ปุ่น เปรียบเทียบเหมือนกับการใช้คำนามซ้ำๆในภาษาไทย เช่น "สมชายกำลังมา กรุณาทำข้าวผัดให้สมชายเพราะสมชายชอบข้าวผัด ฉันหวังว่าสมชายจะชอบชุดที่ฉันใส่อยู่ ..."
ตัวอย่างประโยค
คำนาม 1 + + คำนาม 2 + です。

มีความหมายว่า "คำนาม 1 นั้นคือ คำนาม 2" ตัวอย่างเช่น
わたしは  ソムチャイ です。
Watashi wa Somuchai desu
ฉันชื่อสมชาย
わたしは タイ人 です。
Watashi wa Taijin desu
ฉันเป็นคนไทย

ในโครงสร้างประโยคนี้ใช้ (อ่านว่า วะ ไม่ใช่ ฮะ) เป็นคำช่วยใช้ชี้หัวข้อเรื่องที่กำลังจะพูด ในที่นี้คือ "ฉัน" ประโยคบอกเล่าสามารถเปลี่ยนให้เป็นประโยคคำถามเพื่อถามว่าใช่หรือไม่ โดยการเติม ลงท้ายประโยค เวลาพูดให้ออกเสียงสูงท้ายประโยค ตัวอย่างเช่น
あなたは 日本人 ですか?
Anata wa Nihonjin desu ka?
คุณเป็นคนญี่ปุ่นใช่หรือไม่
いいえ、中国人 です。
Iie, Chūgokujin desu
ไม่ใช่, เป็นคนจีน

คำศัพท์
わたし
watashi
ฉัน
あなた
anata
คุณ
タイ人
taijin
คนไทย
日本人
Nihonjin
คนญี่ปุ่น
中国人
Chūgokujin
คนจีน
はい
hai
ใช่
いいえ
iie
ไม่ใช่


ประธาน + + กรรม + + กริยา

มีความหมายว่า "ประธานกระทำกริยากับกรรม" ตัวอย่างเช่น
わたしは ごはんを 食べます。
Watashi wa gohan o tabemasu
ฉันกินข้าว
かれは 本を 読みます。
Kare wa hon o yomimasu
เขาอ่านหนังสือ

ในโครงสร้างประโยคนี้ จะเห็นว่าเราใช้คำช่วย ต่อท้ายคำที่ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค
คำศัพท์
ごはん
gohan
ข้าว
hon
หนังสือ
食べます
tabemasu
กิน
読みます
yomimasu
อ่าน
かれ
kare
เขา (ผู้ชาย)

กริยารูปอดีต และปฏิเสธ
ภาษาญี่ปุ่นมีการผันรูปของกริยา เป็นไปตามกาล(Tense)เช่นเดียวกับภาษาอังกฤษ นอกจากนั้นในประโยคปฏิเสธมีการผันกริยาเพื่อแสดงความหมายว่า "ไม่" อีกด้วย หลักการผันกริยามีดังนี้
รูปปัจจุบัน บอกเล่า
รูปอดีต บอกเล่า
รูปปัจจุบัน ปฏิเสธ
รูปอดีต ปฏิเสธ
~ます
~ました
~ません
~ませんでした
食べます
tabemasu
食べました
tabemashita
食べません
tabemasen
食べませんでした
tabemasendeshita
飲みます
nomimasu
飲みました
nomimashita
飲みません
nomimasen
飲みませんでした
nomimasendeshita
見ます
mimasu
見ました
mimashita
見ません
mimasen
見ませんでした
mimasendeshita



きょう テレビを 見ます。
Kyō terebi o mimasu
วันนี้จะดูโทรทัศน์
きのう テレビを 見ました。
Kinō terebi o mimashita
เมื่อวานดูโทรทัศน์
きょう テレビを 見ません。
Kyō terebi o mimasen
วันนี้จะไม่ดูโทรทัศน์
きのう テレビを 見ませんでした。
Kinō terebi o mimasendeshita
เมื่อวานไม่ได้ดูโทรทัศน์

คำศัพท์
見ます
mimasu
ดู
テレビ
terebi
โทรทัศน์
きょう
kyō
วันนี้
きのう
kinō
เมื่อวาน

คำนามและคำบ่งชี้
คำสรรพนาม
คำสรรพนามที่ใช้กันทั่วไป
บุคคลที่
รูปทั่วไป
รูปสุภาพ
รูปยกย่อง
หนึ่ง
(boku, ผู้ชาย)あたし (atashi, ผู้หญิง)(ore,ผู้ชาย)
(watashi)
(watakushi)
สอง
(kimi)お前 (omae)
貴方 (anata)そちら (sochira)
貴方様 (anata-sama)
สาม
(kare, ผู้ชาย)彼女 (kanojo, ผู้หญิง)


แม้ว่าตำราไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่นหลายเล่มจะกล่าวถึงคำสรรพนาม (代名詞 ไดเมชิ) แต่นั่นก็ไม่ใช่คำสรรพนามที่แท้จริง เพราะคำสรรพนามที่แท้จริงนั้นจะต้องไม่มีคำมาขยาย แต่ไดเมชิในภาษาญี่ปุ่นมีคำขยายได้ เช่น 背の高い彼女 (se no takai kanojo หมายถึง "เธอ" ที่มีคำว่า"สูง"มาขยาย) ปัจจุบันมีไดเมชิใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย ในขณะที่ไดเมชิเก่าๆก็กำลังหายไปอย่างรวดเร็ว
มีไดเมชิจำนวนหนึ่งที่ถือได้ว่าใกล้เคียงกับคำสรรพนาม เช่น (kare, เขา) 彼女 (kanojo, เธอ); (watashi, ฉัน) ขณะที่ไดเมชิบางคำถือว่าเป็น"คำนามส่วนตัว" ไม่ใช่สรรพนาม เช่น (onore, ฉัน (ให้ความหมายในทางอ่อนน้อมเป็นอย่างมาก)) หรือ (boku, ฉัน (เด็กผู้ชาย)) คำเหล่านี้เปรียบเสมือนชื่อตัวเอง นั่นคือคนอื่นอาจเรียกเราด้วยไดเมชิเดียวกับที่เราเรียกตัวเองก็ได้ ผู้อื่นอาจใช้ おのれ (onore) ซึ่งเป็นการเรียกผู้ฟังในเชิงหยาบคาย หรืออาจใช้ boku ซึ่งเป็นการเรียกผู้ฟังในเชิงเห็นผู้ฟังเป็นเด็ก นอกจากนี้ ยังมีไดเมชิบางคำที่มีหลายความหมาย เช่น kare และ kanojo สามารถแปลได้ว่า แฟน(ที่เป็นผู้ชาย) และ แฟน(ที่เป็นผู้หญิง) ตามลำดับ
คนญี่ปุ่นมักไม่ค่อยใช้ไดเมชิเรียกตัวเอง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะภาษาญี่ปุ่นไม่จำเป็นต้องระบุประธานทุกครั้งในกรณีที่ผู้พูดและผู้ฟังเข้าใจตรงกันอยู่แล้ว และโดยปกติ คนญี่ปุ่นมักจะเรียกชื่อหรือใช้คำนามเฉพาะเจาะจงแทนการใช้สรรพนาม เช่น
「木下さんは、背が高いですね。」
Kinoshita-san wa, se ga takai desu ne.
(กำลังพูดกับคุณคิโนะชิตะ) "คุณคิโนะชิตะสูงจังเลยนะครับ"
「専務、明日福岡市西区の山本商事の社長に会っていただけますか?」
Semmu, asu Fukuoka-shi Nishi-ku no Yamamoto-shōji no shachō ni atte itadakemasuka?
(กำลังพูดกับผู้จัดการ) "ท่านผู้จัดการจะสามารถไปพบท่านประธานบริษัทยามะโมโตะพรุ่งนี้ได้ไหมคะ?"
คำบ่งชี้
คำบ่งชี้
ko-
so-
a-
do-
kore
อันนี้
sore
อันนั้น
are
อันโน้น
dore
อันไหน?
kono
นี้
sono
นั้น
ano
โน้น
dono
ไหน?
konna
เหมือนอย่างนี้
sonna
เหมือนอย่างนั้น
anna
เหมือนอย่างโน้น
donna
อย่างไร? เหมือนอย่างไหน
koko
ที่นี่
soko
ที่นั่น
asoko *
ที่โน่น
doko
ที่ไหน?
kochira
ทางนี้
sochira
ทางนั้น
achira
ทางโน้น
dochira
ทางไหน?
kō
แบบนี้
sō
แบบนั้น
ā *
แบบโน้น
dō
แบบไหน?

* รูปพิเศษ
คำบ่งชี้มีทั้งหมดสามแบบคือ คำบ่งชี้ที่ขึ้นต้นด้วย ko, so และ a คำบ่งชี้ที่ขึ้นต้นด้วย ko ใช้ระบุสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวผู้พูดมากกว่าผู้ฟัง คำบ่งชี้ที่ขึ้นต้นด้วย so ใช้ระบุสิ่งที่ใกล้ตัวผู้ฟังมากกว่าผู้พูด และคำบ่งชี้ที่ขึ้นต้นด้วย a ใช้ระบุสิ่งที่อยู่ไกลทั้งผู้พูดและผู้ฟัง คำบ่งชี้สามารถทำให้เป็นรูปคำถามได้ด้วยการใช้คำว่า do ขึ้นต้น คำบ่งชี้ยังสามารถใช้ระบุบุคลได้ด้วย เช่น
「こちらは林さんです。」
Kochira wa Hayashi-san desu.
"นี่คือคุณฮะยะชิ"
คำบ่งชี้ที่ใช้เจาะจงคำนาม ต้องวางไว้หน้าคำนาม เช่น この本 (kono hon) แปลว่า หนังสือเล่มนี้ และ その本 (sono hon) แปลว่า หนังสือเล่มนั้น
เมื่อใช้คำบ่งชี้ระบุสิ่งที่เป็นนามธรรมหรือสิ่งที่ผู้พูดหรือผู้ฟังไม่เห็นในขณะนั้น คำบ่งชี้แต่ละคำจะมีความหมายในเชิงความรู้สึกที่แตกต่างกัน คำบ่งชี้ที่แสดงความไกลทั้งผู้พูดและผู้ฟัง มักจะใช้พูดถึงสิ่งหรือประสบการณ์ที่ผู้พูดมีร่วมกับผู้ฟัง เช่น
A:先日、札幌に行って来ました。
A: Senjitsu, Sapporo ni itte kimashita.
A: เมื่อไม่นานมานี้ ฉันไปซัปโปโรมา
B:あそこ(*そこ)はいつ行ってもいい所ですね。
B: Asoko (*Soko) wa itsu itte mo ii tokoro desu ne.
B: ไม่ว่าจะไปเมื่อไร ที่นั่นก็เป็นที่ที่ดีเสมอเลยเนอะ
หากใช้ soko แทน asoko ในประโยคนี้ จะหมายความว่า B ไม่มีความรู้เกี่ยวกับซัปโปโร ซึ่งเป็นไปไม่ได้เพราะเขาแสดงความเห็นเกี่ยวกับซัปโปโร ดังนั้น จึงใช้ soko แทนไม่ได้ คำบ่งชี้ที่ใช้บอกว่าอยู่ใกล้ผู้ฟังมากกว่าผู้พูด มักใช้พูดถึงสิ่งหรือประสบการณ์ที่ผู้พูดและผู้ฟังไม่ได้มีร่วมกัน เช่น
佐藤:田中という人が昨日死んだって
Satō: Tanaka to iu hito ga kinō shinda tte…
ซาโต้: ฉันได้ยินว่าคนที่ชื่อทานากะตายเมื่อวานนี้
森:えっ、本当?
Mori: E', hontō?
โมริ: เอ๊ะ จริงหรือ?
佐藤:だから、その(*あの)人、森さんの昔の隣人じゃなかったっけ?
Satō : Dakara, sono (*ano) hito, Mori-san no mukashi no rinjin ja nakatta 'kke?
ซาโต้: ฉันถึงได้ถามไง เขาเป็นญาติของเธอไม่ใช่หรือ?
สังเกตว่า ถ้าใช้ ano แทน sono ในประโยคนี้จะไม่เหมาะสม เพราะว่าซาโต้ไม่ได้รู้จักกับทานากะเป็นการส่วนตัว
ความสุภาพ
ภาษาญี่ปุ่นมีการใช้ไวยากรณ์พิเศษเพื่อแสดงถึงความสุภาพและความเป็นทางการ ซึ่งแตกต่างจากภาษาตะวันตก
สังคมญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในหลายระดับ กล่าวคือ คนหนึ่งมีสถานะสูงกว่าอีกคนหนึ่ง ซึ่งมีปัจจัยที่มากำหนด อาทิ หน้าที่การงาน อายุ ประสบการณ์ และสถานะทางจิตใจ (ผู้คนจะเรียกร้องให้สุภาพต่อกัน) ผู้ที่มีวุฒิน้อยกว่าจะใช้ภาษาที่สุภาพ ขณะที่ผู้ที่มีวุฒิอาจใช้ภาษาที่เรียบง่าย ผู้ที่ไม่รู้จักกันมาก่อนจะใช้ภาษาสุภาพต่อกัน เด็กเล็กมักไม่ใช้ภาษาสุภาพจนกว่าจะเป็นวัยรุ่น เมื่อโตขึ้น พวกเขาจะพูดภาษาที่เป็นผู้ใหญ่มากขึ้น
เทเนโงะ (丁寧語) (ภาษาสุภาพ) มักจะเป็นการผันคำเป็นส่วนใหญ่ ส่วนซงเคโงะ (尊敬語) (ภาษายกย่อง) และ เค็นโจโงะ (謙譲語) (ภาษาถ่อมตัว) จะใช้รูปคำกริยาพิเศษที่แสดงถึงการยกย่องและการถ่อมตัว เช่น อิคุ ที่แปลว่า "ไป" จะเปลี่ยนเป็น อิคิมะซุ เมื่ออยู่ในรูปสุภาพ เปลี่ยนเป็น อิรัสชะรุ เมื่ออยู่ในรูปยกย่อง และเปลี่ยนเป็น มะอิรุ เมื่ออยู่ในรูปถ่อมตัว
ภาษาถ่อมตัวจะใช้ในการพูดเกี่ยวกับตัวเอง หรือกลุ่มของตัวเอง (บริษัท, ครอบครัว) ขณะที่ภาษายกย่องจะใช้เมื่อกล่าวถึงผู้สนทนาหรือกลุ่มอื่น เช่น คำว่า -ซัง ที่ใช้ต่อท้ายชื่อ (แปลว่า คุณ-) ถือเป็นภาษายกย่องอย่างหนึ่ง จะไม่ใช้เรียกตนเองหรือเรียกคนที่อยู่ในกลุ่มของตนให้ผู้อื่นฟังเพราะบริษัทถือเป็นกลุ่มของผู้พูด เมื่อพูดกับผู้ที่อยู่สูงกว่าในบริษัทของตน หรือพูดกับพนักงานในบริษัทของตนเกี่ยวกับผู้ที่อยู่สูงกว่า ชาวญี่ปุ่นจะใช้ภาษายกย่องผู้ที่อยู่สูงกว่าในกลุ่มของตน แต่เมื่อพูดกับพนักงานบริษัทอื่น (คนที่อยู่นอกกลุ่ม) ชาวญี่ปุ่นจะใช้รูปแบบถ่อมตนเมื่ออ้างถึงคนที่สูงกว่าในบริษัทของตน
คำที่ใช้ในภาษาญี่ปุ่นจะเกี่ยวข้องกับบุคคล ภาษาและการกระทำซึ่งแตกต่างกันไปตามแต่ละคนขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ (ทั้งในกลุ่มและนอกกลุ่ม) ระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง ด้วยเหตุนี้ ญี่ปุ่นจึงมีการกำหนดคำยกย่องทางสังคมที่เรียกว่า"การยกย่องแบบสัมพัทธ์" ซึ่งแตกต่างจากระบบของเกาหลีซึ่งเป็น"การยกย่องแบบสัมบูรณ์" กล่าวคือ ภาษาเกาหลีจะกำหนดคำที่ใช้คุยกับแต่ละคนๆไป (เช่น พ่อของตน, แม่ของตน, หัวหน้าของตน) โดยไม่ขึ้นกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง ดังนั้น ภาษาสุภาพของเกาหลีจึงฟังดูบุ่มบ่ามเมื่อแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นตามตัวอักษร เช่นในภาษาเกาหลี เราพูดว่า "ท่านประธานบริษัทของพวกเรา... " กับคนที่อยู่นอกกลุ่มได้ตามปกติ แต่ชาวญี่ปุ่นถือว่าการพูดเช่นนี้ไม่สุภาพ
คำนามหลายคำในภาษาญี่ปุ่นอาจทำให้อยู่ในรูปสุภาพได้ ด้วยการเติม โอะ- หรือ โกะ- นำหน้า คำว่า โอะ- มักใช้กับคำที่มาจากภาษาญี่ปุ่น ขณะที่คำว่า โกะ- ใช้กับคำที่รับมาจากภาษาจีน บางครั้ง คำที่เติมนำหน้าก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของคำนั้นอย่างถาวร และกลายเป็นคำศัพท์ที่อยู่ในรูปปกติ เช่นคำว่า โกะฮัง ที่แปลว่าอาหาร การใช้คำเหล่านี้แสดงถึงความเคารพต่อเจ้าของสิ่งของและเคารพต่อสิ่งของ เช่น คำว่า โทะโมะดะชิ ที่แปลว่าเพื่อน จะกลายเป็นคำว่า โอะ-โทะโมะดะชิ เมื่อกล่าวถึงเพื่อนของบุคคลที่สถานะสูงกว่า (แม้แต่แม่ก็มักจะใช้คำนี้เมื่อกล่าวถึงเพื่อนของลูก) ผู้พูดอาจใช้คำว่า โอะ-มิซุ ที่แปลว่าน้ำ แทนคำว่ามิซุเพื่อแสดงความสุภาพก็ได้
ชาวญี่ปุ่นจะใช้ภาษาสุภาพกับผู้ที่ยังไม่สนิทสนมกัน นั่นคือ พวกเขาจะใช้ภาษาสุภาพกับผู้ที่เพิ่งรู้จักกันใหม่ๆ แต่หลังจากสนิทสนมกันมากขึ้นแล้ว พวกเขาจะไม่ใช้ภาษาสุภาพอีกต่อไป ทั้งนี้ไม่ขึ้นกับอายุ สถานะทางสังคม หรือเพศ
ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%8D%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99